13 ข้อผิดพลาดในการทำโฆษณา Google Ads ที่ Google ไม่ได้บอกคุณ!!!

สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มทำโฆษณา Google Ads เพื่อนำมาช่วยเพิ่มจำนวนคนเข้าเว็บไซต์ แล้วก็พัฒนากลายไปเป็นลูกค้าได้ต่อไปนั้น

ส่วนใหญ่มักจะยังไม่รู้ว่าจะต้องทำอะไรยังไง? ถึงจะทำให้แคมเปญโฆษณา Google Ads ของตัวเองให้ได้ผลดีตามที่ต้องการครับ

ในโพสนี้ ผมจะชี้ให้เห็นถึงข้อผิดพลาดต่างๆ ที่ผมมักจะเห็นจากการที่มีโอกาสได้เข้าไปดูบัญชีโฆษณา Google Ads ของลูกค้าใหม่ ๆ ของผม (ที่ได้ลองทำ Google Ads ด้วยตัวเองกันมาก่อน)

ซึ่งข้อผิดพลาดที่ผมเห็นนั้น มันทำให้ผมรู้สึก “เสียดายเงิน” ที่ต้องจ่ายไปให้กับทางอากู๋ Google มากๆ เลยครับ 🙁

โดยที่ผมหวังว่า หลังจากที่คุณอ่านโพสนี้จบแล้ว คุณจะไม่ทำผิดพลาด ในสิ่งต่างๆ ที่ผมนำมาเตือนพวกคุณไว้ในโพสนี้นะครับ

รวมไปถึงส่วนท้ายของโพสนี้ ผมจะแนะนำถึงวิธีแก้ไขและปรับปรุงโฆษณา Google Ads ของคุณ ให้มีประสิทธิภาพที่ดีมากขึ้นกว่าเดิมครับ เช่น

  • ช่วยให้คุณมีต้นทุนโฆษณาที่ถูกลง (เพราะว่ามี Quality Score ที่สูงขึ้น)
  • มีคนคลิกเข้ามาที่เว็บไซต์ของคุณมากขึ้น โดยการใช้งบโฆษณาเท่าเดิม
  • เพิ่มโอกาสให้คุณมีลูกค้าเพิ่มมากขึ้น ยอดขายเพิ่มขึ้น
  • แล้วก็ทำให้ธุรกิจของคุณเติบโตมากยิ่งขึ้น
 

ว่าแล้วก็ลุยไปด้วยกันกับผมเลยครับ

ข้อผิดพลาด (ที่พบบ่อย) ของมือใหม่ในการทำโฆษณา Google Ads

1. ไม่มีการวางโครงสร้างของแคมเปญโฆษณาให้ดี

รวมไปถึงไม่มีการจัดหมวดหมู่ของคีย์เวิร์ดให้เรียบร้อยด้วยครับ 

สิ่งที่ผมมักจะเจออยู่บ่อยๆ ก็คือ แคมเปญโฆษณาของพวกมือใหม่มักจะไม่มีการจัดระเบียบของแคมเปญโฆษณาเลยครับ

อย่างเช่น ชื่อของแคมเปญโฆษณาก็ไม่ได้สื่อว่าพวกคีย์เวิร์ด ที่อยู่ในแคมเปญนั้น จะเกี่ยวข้องกันกับชื่อของแคมเปญหรือเปล่า?

คือถ้าเห็นแล้วจะบอกว่าคีย์เวิร์ดที่ใส่เข้าไปในระบบนั้น ไม่มีการวางจัดกลุ่มอะไรเลย

อารมณ์ประมาณว่า พอนึกขึ้นมาได้ว่าคนจะค้นหาด้วยคีย์เวิร์ดคำไหนได้ ก็ยัดใส่ๆ เข้าไปก่อนเลยครับ (อาจจะกลัวลืม ฮาๆๆ)

ซึ่งมันจะทำให้แคมเปญโฆษณาของคุณเละตุ้มเป๊ะได้เลยครับ

พอเวลาที่มีคนค้นหาแล้ว ระบบของ Google มันจะต้องใชัพลังงานมากกว่าปกติเลยครับ ในการที่จะเอาโฆษณาของคุณว่าอยู่ตรงไหนอะไรยังไงนำมาแสดงให้คนค้นหาเห็น

ด้วยความที่ว่ามันสับสนปนเปกันไปหมด แถมบางทีก็มีคีย์เวิร์ดซ้ำซ้อนกัน ยิ่งทำให้คีย์เวิร์ดไปแข่งประมูลราคากันเองด้วยครับ

สำคัญมากนะครับ สำหรับเรื่องการวางโครงสร้างของแคมเปญโฆษณา Google Ads

ยิ่งในระยะยาวด้วยแล้ว คุณก็จะต้องมีการเพิ่มคีย์เวิร์ดใหม่ๆ เข้าไปอยู่เรื่อยๆ

ดังนั้น ให้คุณวางแผนจัดระเบียบให้ดีตั้งแต่แรกเลยครับ อนาคตจะได้สบายๆ ไม่ต้องปวดหัวครับ

2. ไม่มีความรู้ในเรื่องของ "รูปแบบการทำงานของคีย์เวิร์ด (Match Type)"

คือการที่พวกมือใหม่ใส่คีย์เวิร์ดคำที่ต้องการใช้ไปในระบบนั้น ไม่ได้หมายความว่าคนที่ค้นหาคำที่คุณต้องการแล้วจะเจอโฆษณาของเค้าแต่เพียงอย่างเดียว

เพราะว่าทาง Google ยังใจดี เอาโฆษณาของเค้าไปแสดงให้กับคนที่ค้นหาคำที่ Google คิดว่า มีความเกี่ยวข้องกับคีย์เวิร์ดของเค้าให้ด้วยครับ

ซึ่งพวกคำที่ทาง Google คิดว่าเกี่ยวข้องนั้น…

มันอาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเค้าเลยก็ว่าได้ครับ!

สำหรับผู้ที่ยังไม่รู้ว่า Match Type ของ Google คืออะไร?

คือทาง Google จะมี Match Types ทั้งหมด 4 แบบครับ คือ

  1. แบบกว้าง (Broad) – ซึ่งเป็นค่าปกติเวลาที่คุณใส่คีย์เวิร์ดเข้าไปในระบบ
  2. ตัวแก้ไขแบบกว้าง (Modified Broad)
  3. แบบวลี (Phrase)
  4. แบบตรงทั้งหมด (Exact)
 

ซึ่งในท้ายของโพสนี้ ผมมีแนวทางในการเลือกใช้ Match Type อย่างถูกต้องมาแนะนำครับ

3. ไม่มีการใช้ "คีย์เวิร์ดเชิงลบ (Negative Keywords)"

คือมือใหม่จะยังไม่รู้ว่า Negative Keywords จะสามารถป้องกันให้คนที่ใช้คำค้นหาคำนั้นๆ “ไม่ให้เห็น” โฆษณาของเค้าได้ครับ

แถมบางคนก็ยังไม่รู้เลยครับ ว่าจะใส่ตรงส่วนไหนยังไง ในหน้าระบบของ Google Ads

4. ไม่รู้จักดูรายงาน Search Terms*

พวกมือใหม่มักจะไม่รู้ว่าตัวเค้าสามารถที่จะดูได้ว่า คนใช้คำค้นหาด้วยคีย์เวิร์ดอะไรบ้าง? แล้วก็เห็นโฆษณาที่เค้าสร้างขึ้น 

*Google เรียกคำที่คนใช้ค้นหาแล้วมาเจอโฆษณาของคุณว่า “Search Terms” ครับ

ส่วนคีย์เวิร์ดที่คุณใส่เพิ่มเข้าไปในระบบ เรียกว่า “Search Keywords” ครับ

ซึ่งรายงาน Search Terms จะมีประโยชน์มากครับ เพราะว่าเมื่อดูรายงาน Search Terms แล้ว จะเห็นได้เลยครับว่า…

มันมี Search Terms คำไหนบ้าง ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเค้าเลย

ถ้าไม่ใช่ คุณก็จัดการเพิ่มเข้าไปในคีย์เวิร์ดเชิงลบซะ

5. ไม่มีการใช้ Brand Keywords

ยิ่งสมมติว่าธุรกิจของมือใหม่ที่ลงโฆษณา Google Ads อยู่นั้นมีชื่อเสียงในระดับนึง

การที่พวกเค้าไม่ซื้อคีย์เวิร์ดที่เป็นชื่อแบรนด์ของตัวเองเอาไว้

ก็มีโอกาสที่จะถูกคู่แข่งทางธุรกิจซื้อไป แล้วก็คอยแอบแย่งลูกค้าของพวกมือใหม่ไปโดยไม่รู้ตัวด้วยนะครับ

6. ไม่มีการทดสอบข้อความโฆษณา (Text Ads)

คือพวกมือใหม่มักจะมีข้อความโฆษณาแค่แบบเดียวครับ

พวกเค้าอาจจะยังไม่รู้ว่า การทดสอบข้อความโฆษณาโดยมีการสร้างข้อความหลายๆ ตัวนั้นรันไปพร้อมๆ กันนั้น จะช่วยให้ระบบทำการทดสอบ และพัฒนาประสิทธิภาพของโฆษณาให้ดีขึ้นได้ครับ

7. ไม่มีการใช้ "ส่วนขยายโฆษณา (Ads Extensions)"

พวกมือใหม่เค้ายังไม่ค่อยรู้กันครับว่า ส่วนขยายโฆษณาคืออะไร? มีกี่แบบ?

แล้วมันจะไปแสดงตรงส่วนไหนในโฆษณา Google?

แล้วจะเข้าไปใส่หรือเพิ่มตรงไหน?

ซึ่งผมถือว่าพลาดมากๆ เลยครับ

ในท้ายของโพสนี้ ผมจะบอกให้คุณรู้ว่า ทำไมคุณถึง “จำเป็นต้องใช้” Ad Extensions ในโฆษณาของคุณ

8. ไม่มีการปรับแต่งหน้าปลายทาง (Landing Page) ให้ตรงกับข้อความโฆษณา

คือพอพวกมือใหม่สร้างโฆษณาเสร็จแล้ว พวกเค้าก็มักจะส่งลิงค์ให้คนคลิกเข้าไปที่หน้าแรกของเว็บไซต์ตัวเองอย่างเดียว

โดยที่พวกเค้าไม่รู้ว่า บางทีการสร้างหน้าปลายทางพิเศษเฉพาะขึ้นมา (Landing Page) จะสามารถที่จะช่วยให้แคมเปญโฆษณาของเค้านั้น ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น มากกว่าการส่งคนไปที่หน้าแรกตั้งหลายเท่า

9. ไม่มีการใช้กลยุทธ์ในการเสนอราคา (Bid) ให้ตรงกับเป้าหมายทางธุรกิจ

คือจะเห็นว่าพวกมือใหม่ส่วนใหญ่จะใช้การเสนอราคาแบบ Manual CPC ง่ายๆ ก็คือใส่เงินที่ต้องการจะเสนอราคาต่อคลิก (CPC) เข้าไปเลย

อาจจะเนื่องด้วยยังไม่รู้ว่า Google นั้น สามารถที่จะใช้การเสนอราคาในแบบอื่นๆ ได้ด้วย

ซึ่งเดี๋ยวเรามาดูกันครับว่าคุณสามารถตั้งค่าเสนอราคา CPC ได้กี่แบบ?

10. ไม่มีการตรวจสอบและทำตามคำแนะนำในส่วนของ Recommendations

พวกเราอยู่ในยุคของ Big Data ที่ทาง Google ใช้ AI (Machine Learning) มาช่วยในการพัฒนาประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ซึ่งพวกมือใหม่ก็จะยังไม่ค่อยรู้ว่าฟีเจอร์ Recommendations นี้อยู่ตรงส่วนไหน และจะต้องทำยังไงกับมันดี?

11. ไม่มีการวัดผลโฆษณาเปรียบเทียบกับคู่แข่ง (Competitor Insights)

คือพวกมือใหม่เค้ามักจะไม่รู้ว่า แคมเปญโฆษณา Google Ads ที่เค้ารันอยู่นั้น สามารถที่จะดูได้ว่า ในบรรดาคีย์เวิร์ดคำต่างๆ ที่เค้าเสียเงินประมูลแข่งกันอยู่นั้น มีคู่แข่งรายไหนที่กำลังซื้อคีย์เวิร์ดแล้วก็ประมูลแข่งกับเค้าอยู่บ้าง

แล้วก็คีย์เวิร์ดที่พวกมือใหม่ซื้ออยู่นั้น มีกี่ % ที่เห็นโฆษณา (Impression Shares) แล้วมี่กี่ % ที่ไม่เห็นโฆษณาของเค้า

เวลาที่ผมถามคำถามเหล่านี้ พวกมือใหม่ก็จะอ้ำๆ อึ้งๆ แล้วก็บอกผมว่าไม่รู้ว่าจะดูข้อมูลพวกนี้ได้จากที่ไหนครับ

12. ไม่มีการวัดผลคอนเวอร์ชั่น (Conversions)

มือใหม่บางคนอาจจะยังไม่รู้เลยด้วยซ้ำไปว่า “คอนเวอร์ชั่น” คืออะไร?

บางคนอาจจะรู้จักคำว่าคอนเวอร์ชั่น แต่ก็ยังไม่รู้ว่าจะวัดตัวเลขนี้ได้อย่างไรในระบบ Google Ads?

13. ไม่มีการเชื่อมต่อการใช้งานระหว่าง Google Ads และ Google Analytics

มือใหม่บางคนยังไม่มี “การใช้ Google Analytics ในการวิเคราะห์เว็บไซต์” ของตัวเองเลยด้วยซ้ำครับ อันนี้คือเรื่องจริงครับ 

ซึ่งทำให้เค้าไม่สามารถวัดประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณาได้หมดครบทุกมิติครับ

เป็นไงบ้างครับสำหรับข้อผิดพลาดต่างๆ ที่ผมนำมาแนะนำให้พวกคุณรู้จักกันครับ

ทีนี้มาดูกันต่อครับ ว่าคุณสามารถที่จะป้องกันข้อผิดพลาดต่างๆ ด้านบนนี้กันได้อย่างไรบ้าง?

รวมไปถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่ทางผมแนะนำให้กับมือใหม่แบบพวกเค้า แล้วก็นำมาปรับปรุงให้กับลูกค้าใหม่ๆ ของบริษัทที่ให้โอกาสผมได้ช่วยงานด้วยครับ

ขอบคุณมากครับ

อรรถทวี (หยุดจ่ายค่าส่วยให้อากู๋!) เจริญวัฒนวิญญู
Konvertive – Delivering Your Business Conversions with Digital Marketing

ฝากแชร์ต่อให้เพื่อนๆ ด้วยนะครับ 😊 ขอบคุณครับ 🙏

หยุดจ่ายค่าโง่ให้กับอากู๋
ตั้งแต่วันนี้!

เพียงกรอกข้อมูลด้านล่างเพื่อรับ
Checklist 12 ข้อในการทำ Google Ads แบบมืออาชีพ
ผ่านทางอีเมลของคุณ